ข้อดี
ข้อเสีย
ข้อดี
ข้อเสีย
ข้อดี
ข้อเสีย
4.
ขมิ้น เป็นสมุนไพรชนิดที่มีเหง้าใต้ดิน พบสารอาหารสำคัญคือ "เคอร์คูมิน (Curcumin)" สารนี้มีสรรพคุณ
ช่วยลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถทะลุผ่านตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (Blood brain barrier) เข้าสู่เซลล์สมองได้โดยตรง จากการศึกษาพบว่า เคอร์คูมิน
ช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีความจำดีขึ้น ซึ่งอาจมาจากการออกฤทธิ์กระตุ้นแมกโครเฟจ (Macrophages) หรือเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันให้ไปกำจัดอะมีลอยด์พลักค์ (Ameloid plaques) ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดอาการอัลไซเมอร์นั่นเอง เคอร์คูมินยังมีผลกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) และโดปามีน (Dopamine) ซึ่งทั้งสองอย่างนี้
มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ งานวิจัยหนึ่งยังพบว่า เคอร์คูมิน
ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ดีเท่าๆ กับการรับยาต้านซึมเศร้าเป็นเวลา 6 เดือน
นอกจากนี้เคอร์คูมินยังช่วยเสริมสร้างการเพิ่มโกร๊ทฮอร์โมนที่เรียกกันว่า "BDNF (Brain-derived neurotrophic factor)" ฮอร์โมนนี้ส่งเสริมให้เซลล์ประสาทเติบโตและแข็งแรงขึ้น ส่งผลให้อาการผิดปกติทางสมองต่างๆ ดีขึ้นได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม เคอร์คูมินในขมิ้นมีปริมาณเพียง 2% ของน้ำหนักขมิ้นและเป็นสารละลายในน้ำมัน ดังนั้นจึงควรรับประทานขมิ้นพร้อมกับอาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของสารอาหารบำรุงสมองสูงสุด
ข้อดี
ข้อเสีย
ข้อดี
ข้อเสีย
6.
ธัญพืช หมายถึง กลุ่มพืชที่ให้เมล็ด มีหลากหลายชนิด ธัญพืชหลายชนิดมีสารอาหารบำรุงสมอง เช่น ฟีนิลอะลานิน (Phenylalanine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนใช้ในการสร้างโดปามีน
ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันและโรคซึมเศร้า โบรอน ซึ่งเป็นสารสำคัญเกี่ยวกับการส่งกระแสประสาทและสมอง ซีลีเนียม (Selenium) ซึ่งเป็น
หนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเนื้อเยื่อสมองจากอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจทำให้เซลล์สมองเสื่อม ซีลีเนียมทำงานร่วมกับวิตามินอี (Vitamin E) ด้วยการเสริมฤทธิ์ของวิตามินอี
ช่วยรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ วิตามินอีเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญของร่างกาย มีฤทธิ์ช่วยต้านไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัวจึงทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือดที่ผนังหลอดเลือด ลดการอุดตันของคอเลสเตอรอล ช่วยให้ร่างกายนำพาออกซิเจนได้สะดวก ทำให้ระบบประสาทดีขึ้น ตัวอย่างธัญพืชอื่นๆ ที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย ได้แก่ วอลนัต (Walnuts) มีกรดไขมันอัลฟา อิลโนเลอิก (Alpha-Ilinolenic) ในปริมาณสูง มีฤทธิ์
ช่วยลดความดันโลหิตและช่วยปกป้องหลอดเลือดแดง ซึ่งส่งผลดีแก่สุขภาพหัวใจและสมอง มีกรด DHA ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของสมองในส่วนความคิด ส่วนพิสตาชิโอ (Pistachios) เป็นธัญพืชที่มีคุณประโยชน์ใน
การพัฒนาสมองส่วนการเรียนรู้ และยัง
ช่วยเพิ่มความสามารถด้านการจำอีกด้วย ธัญพืชอีกชนิดที่น่าสนใจคือ ถั่วลิสง เป็นอาหารบำรุงสมองที่มีสรรพคุณช่วย
เพิ่มคุณภาพการนอน ส่งผลให้สมองได้พักผ่อนเต็มที่และกลับมาทำงานดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีเมล็ดเจีย หรือ เชีย (Chia) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น ซูเปอร์ฟู้ด (Super food) เมล็ดเจียมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มากถึง 62.48% และกรดไขมันโอเมก้า 6 อยู่ถึง 22.43% ทั้งยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม รวมถึง
มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้มีปัญหาไม่ควรรับประทานเมล็ดเจีย เนื่องจากเมล็ดเจียมีเส้นใยสูง เมื่อรับประทานเข้าไปจะพองตัวขึ้นอีก จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ สิ่งที่ควรระมัดระวังในการบริโภคธัญพืชคือ เลือกธัญพืชที่ไม่มีการปรุงแต่งรส หรือปรุงแต่งแต่น้อยๆ เนื่องจากธัญพืชที่ขายกันบางแห่งอาจเป็นชนิดทอด หรืออบและเติมเกลือ น้ำมันทอดอาจส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่วนเกลือที่มากเกินไปอาจทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูง ทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้
ข้อดี
ข้อเสีย
7.
บร็อกโคลี เป็นผักใบเขียวตระกูลเดียวกับกะหล่ำปลี เต็มไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ ที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย ได้แก่ วิตามินเค (Vitamin K) วิตามินซี (Vitamin C) โคลีน (Choline) ลูทีน (Lutein) กรดโฟลิก (Folic acid) และเบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) การศึกษาสารอาหารจากบร็อกโคลี
ในฐานะอาหารบำรุงสมองพบว่า วิตามินเคในบร็อกโคลีมีความจำเป็นต่อการสร้างสฟิงโกลิพิด (Sphingolipids) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเยื่อหุ้มเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์สมองและเนื้อเยื่อประสาท มี
ส่วนช่วยเรื่องการคิด ความจำ ดังมีงานศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งให้ผลว่า การรับประทานวิตามินเคสัมพันธ์กับความจำที่ดีขึ้น โคลีนก็ส่งเสริมความสามารถของสมองด้านนี้เช่นกัน สารสำคัญอื่นที่พบในบร็อกโคลี ได้แก่ กรดโฟลิก ซึ่ง
ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์และช่วยป้องกัน หรือบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ด้วย
ข้อดี
ข้อเสีย