Menu

กลโกงซื้อของออนไลน์ โดนกันบ่อยแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว

ทุกวันนี้การจะซื้ออะไรสักอย่าง เกิดขึ้นง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้วจิ้มสองสามที เปิดดีลคุยจบโอนเงินแล้วก็รอรับสินค้าที่บ้าน เป็นที่ถูกใจของคนทุกเพศทุกวัย ง่ายมากเลยใช่ไหมล่ะ ซึ่งจากความสะดวกสบายนี้เองที่อาจทำให้เราไม่ทันระวังตัวว่าอาจจะโดนผู้ไม่หวังดีหลอกได้

        ซึ่งเป็นที่แน่นอน ทุกแวดวงมักจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีแฝงตัวปะปนคอยเอารัดเอาเปรียบพวกเราอยู่เสมอ การโกงในการซื้อขายออนไลน์นั้นก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง และส่วนมากก็จับมือใครดมไม่ได้คนโกงก็ลอยนวลต่อไป โดนที่เหยื่อก็ได้เพียงแต่บอกว่า “ถือว่าทำบุญ” แต่ลองคิดดูว่าถ้าคนโกงไปทำแบบที่ทำกับเรากับอีกสิบคน ความเสียหายมันจะเป็นเงินเท่าไหร่

        วันนี้เราจะพาไปดูวิธีการโกงเงินของพวกมิจฉาชีพ นอกจากการโกงกันทั่วไปแล้ว มีวิธีใดบ้างที่พวกนี้ใช้เป็นเครื่องมือหากินบนความไม่รู้ของคนอื่น

        วิธีนี้ถ้าหากเล่าไป ทุกคนอาจจะร้องอ๋อกันบ้างเพราะ เคยสังเกตกันไหมว่าบนหน้าฟีด Facebook หรือ Instagram จะมีโฆษณาของร้านค้าออนไลน์ สมมติว่าเป็นรองเท้าแล้วกัน ใช้ชื่อเพจตัวอย่างเช่น “โละโรงงานรองเท้างานแท้ราคาถูก” อะไรประมาณนี้ แล้วมีรูปสินค้าที่ปกติจะราคาแพงมาก ๆ แต่ร้านนี้โพสต์บอกว่าราคาถูกมาก ๆ เช่นจาก 8 พันเหลือแค่ 1500 บาท ซึ่งของถูกเป็นใครก็ชอบ ก็สั่งสิครับรออะไร แต่พอของมาถึงบ้านต้องถึงกับงง เพราะของที่ได้ไม่ตรงปกเหมือนในรูปตอนสั่งเลย เสียดายก็เสียดายแต่เรื่องมักมาจบตรงที่ “เงินแค่นี้ถือว่าเสียค่าโง่” ไปโดยปริยาย ซึ่งพอโจรทำแบบนี้กับหลาย ๆ คนเสร็จแล้วก็เปลี่ยนเพจไปเรื่อย ๆ โกงคนต่อ ๆ ไปไม่จบสิ้น

        โจรประเภทนี้จะแฝงอยู่ตามกลุ่มซื้อขาย คอยเก็บข้อมูลต่าง ๆ ก่อนลงมือ ยกตัวอย่างเช่น A คือผู้เสียหาย B คือโจร C คือเครื่องมือของ B ที่มาที่ไปและขั้นตอนต่าง ๆ จะเป็นดังนี้ สมมติว่าเรื่องเกิดขึ้นในกลุ่มซื้อขายของในเกม

         วิธีนี้เป็นวิธีหาเงินของพวกขี้โกงที่อาจสร้างรายได้มหาศาลเลยทีเดียว โดยอาศัยการเก็บเงินปลายทางเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งรูปแบบนี้ขั้นตอนต่าง ๆ มีวิธีดังนี้

        พวกมิจฉาชีพนี้จะลงทุนซื้อของแบบเหมามาเยอะ ๆ เช่น เคสโทรศัพท์ราคาถูก ตกอันละ 20 บาท เป็นต้น แล้วก็นำมาห่อพัสดุใส่ชื่อที่อยู่ บางคนอาจงงว่าแล้วเขาเอาชื่อที่อยู่เหล่านั้นมาจากไหน ไม่ยากเลยเพราะบน Facebook ตามแฟนเพจที่แจกของหรือขายของฟรี มักจะมีคนที่ไม่ระวังตัวโพสต์ชื่อที่อยู่ของตัวเองลงในช่องคอมเมนต์ พวกนี้แหละคือชื่อที่อยู่ที่มิจฉาชีพพวกนี้นำมาใช้

        และเมื่อตอนไปส่งของ ก็ใช้การส่งแบบเก็บเงินปลายทาง สมมติว่าเก็บกล่องละ 200 บาท เมื่อของถึงมือผู้รับ ก็งงสิว่าฉันสั่งของมาตอนไหน แต่ในเมื่อบนกล่องนั้นเป็นชื่อฉัน ฉันก็คงต้องรับ ก็ยอมจ่ายเงิน 200 บาทไป เพื่อจะมาพบว่าตนเองได้เคสโทรศัพท์อันละ 20 บาทเท่านั้น

       โดยหากคิดเป็นตัวเลข หากพวกมิจฉาชีพพวกนี้ใช้วิธีส่งของออกไปวันละ 1000 กล่อง แต่สำหรับผู้รับคงมีบางคนที่ปฏิเสธบ้าง อาจจะเหลือที่รับสัก 400 กล่อง เพียงแค่นี้ มิจฉาชีพพวกนี้ก็เท่าเงินได้แล้วครั้งละ 400 คูณ 200 เท่ากับ 80,000 บาท (ยังไม่หักค่าต้นทุน ซึ่งไม่น่าเกิน 30,000) ถือว่าเป็นเงินที่เยอะมากเลยทีเดียว

         แต่ความจริง วิธีเหล่านี้ที่โจรใช้นั้นมันสำเร็จเพียงเพราะคำว่า “ไม่เป็นไร” ของเหยื่ออย่างเห็นได้ชัด เช่น สั่งของแท้ได้ของปลอมในราคาถูกก็บอกว่าไม่เป็นไร ถูกโกงเงินตามตัวคนโกงไม่ได้ก็บอกแค่ว่าไม่เป็นไร มีของมาส่งก็รับมาแบบไม่รู้เรื่องและจ่ายเงินไป ก็บอกอีกว่าไม่เป็นไร เพราะคำนี้แหละเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่ทำให้พวกมิจฉาชีพเหล่านี้ยังหารายได้ได้อย่างล้นหลามไม่เกรงกลัว

โพสต์โดย : Kingdom Kingdom เมื่อ 25 ส.ค. 2567 03:40:22 น. อ่าน 8 ตอบ 0

facebook