Menu
หน้าแรก
ดูบอลสด
ตารางบอลวันนี้
ตารางบอลพรุ่งนี้
ผลบอลย้อนหลัง
ทายผลบอล
ข่าววันนี้
ข่าวเด่นวันนี้
ข่าวพรีเมียร์ลีค
ข่าวลาลีกา
ข่าวบุนเดสลีกา
ข่าวกัลโซ่ ซีเรียอา
ข่าวลีกเอิง
ข่าวไทยพรีเมียร์ลีก
ข่าวยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ข่าวยูโรป้า
ข่าวฟุตบอลโลก
ลิ้งดูบอล
คลิปไฮไลท์
ไฮไลท์ฟุตบอลอุ่นเครื่อง
ไฮไลท์พรีเมียร์ลีก
ไฮไลท์ลาลีกา
ไฮไลท์บุนเดสลีกา
ไฮไลท์กัลโซ่ ซีเรียอา
ไฮไลท์ลีกเอิงฝรั่งเศษ
ไฮไลท์ไทยพรีเมียร์ลีก
ไฮไลท์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ไฮไลท์ยูโรป้า
ผลบอล
ดูทีวีออนไลน์
วิเคราะห์บอล
ตารางคะแนน
พรีเมียร์ลีค
แชมเปี้ยนชิพอังกฤษ
ลาลีกา
บุนเดสลีกา
กัลโซ่ซีเรียอา
ลีกเอิงฝรั่งเศส
ไทยพรีเมียร์ลีก
ไทยดิวิชั่น1
Holland Eredivisie
บุนเดสลีก้า2 เยอรมัน
ลาลีกา2 สเปน
ซูเปอร์ลีกา โปรตุเกส
เว็บบอร์ด
ไม้เรียวสร้างคนหรือสร้างปม? คนสมัยก่อนมองการตีเป็นเรื่องดีได้ยังไง
“รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” - “รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา”
จากสำนวนไทยที่เคยท่องสมัยเด็ก แน่นอนว่าสังคมไทยอยู่กับการลงโทษด้วยการตีมานานแสนนาน ถึงแม้ว่าตอนนี้กระแสห้ามใช้ความรุนแรงกับเด็กจะเป็นเรื่องสำคัญที่ใครหลายๆคนก็ใส่ใจ
แต่ก็คงปฏิเสธแบบเต็มปากไม่ไหวว่า ไม้เรียว ยังคงเป็นไอเทมที่ถูกใช้งานอยู่เสมอ
iNN เลยขอชวนมาย้อนรอยไม้เรียวที่น่องขาท่องอดีตกันว่า การตีและไม้เรียว กลายเป็นเรื่องดีๆของสังคมได้อย่างไร
ตีสิดี เพราะโดนตีจะได้ฉลาด
อ่านไม่ผิดหรอก เพราะคนสมัยก่อนเชื่อจริงๆว่าการตีจะช่วยให้ความจำดีขึ้น จนใช้เป็นหลักสูตรหนึ่งในการสอนของชาวตะวันตกสมัยก่อน
ย้อนกลับไปในสมัยยุคกลาง
(Middle Ages)
ช่วงที่ศาสนจักรเข้ามามีอำนาจปกครองบ้านเมืองสูงสุดและทั้งพื้นที่เต็มไปด้วยความเชื่อทางศาสนา ครูสมัยก่อนมักตีนักเรียนเพราะ
เชื่อว่าการลงโทษแบบนี้จะช่วยให้เด็กจดจำในสิ่งที่พลาดได้ขึ้นใจ
รวมทั้งยังช่วยพัฒนาระดับสติปัญญา เรียกได้ว่าผู้ใหญ่ยุคกลางไม่เน้นเพิ่มรอยหยักที่สมองแต่เพิ่มรอยแดงที่ต้นขากันเลยทีเดียว
จากบันทึกพบว่าผู้ใหญ่มีความเชื่อว่าการสร้างความเจ็บปวดจะเป็นตัวการสำคัญต่อการพัฒนา ซึ่งจะแบ่งการลงโทษเล็กๆไปจนถึงใหญ่ ตั้งแต่การลงโทษ
ขั้นแรกที่ทำเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ขั้นที่สองคือการกระตุ้นตรรกะและเหตุผล และขั้นที่สามจะช่วยให้เด็กฉลาดหัวไว
นอกจากนี้ระบบศีลธรรมอันดีก็สามารถสร้างได้ด้วยการตีเช่นเดียวกัน
ตีสิดี เพราะถือเป็นหน้าที่
แวะกลับมาที่ประเทศไทย ในสมัยอยุธยาแม้จะไม่มีการบันทึกชัดเจนเกี่ยวกับ วิธีกำราบเด็กดื้อ101 ให้เห็นกัน แต่ก็เห็นได้ชัดว่ามีการระบุวิธีลงโทษคนไม่รักดีทั้ง กฎหมายตราสามดวงที่ระบุแนวทางการประหารกบฏ หรือจะเป็นฉากในละครไทยพีเรียดที่เราๆคุ้นกันในปัจจุบัน
ซึ่งการลงโทษในสมัยโบราณนั้นเป็นการทำเพื่อชำระแค้นตามสมควรแล้วแต่ผู้มีอำนาจดูแลจะสั่งการ โดยโทษเบาสุดก็คือการเฆี่ยนด้วยหวาย หรือจองจำด้วย ขื่อ พวงคอ ล่ามโซ่ ตรวน ซึ่งหวายที่ใช้ลงหลังก็แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท ทั้งหวายแช่น้ำแสบ(
หรือหวายแช่เยี่ยวที่ได้ยินบ่อยๆในละคร)
เวลาโดนความเค็มจากเกลือก็จะเข้าแผลให้ปวดแสบปวดร้อน, หวายกระชากหนังกำพร้า และหวายสามแนวที่มัดเอาหวายสามเส้นรวมกันเป็นเส้นเดียวกัน
ทั้งนี้ผู้ที่ทำการลงโทษถ้าไม่ใช่เป็นคนที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลคนในปกครอง ก็จะเป็นเจ้าขุนมูลนายที่รับบทฟาดเองกับมือ
สาเหตุที่ทำได้ก็เพราะเป็นสิทธิอันชอบธรรม
ทั้งทำกับลูกของตนเพราะเป็นหน้าที่ควบคุมความประพฤติ หรือแม้แต่ทำกับไพร่ ทาสติดเรือนหากซื้อมาก็ทำได้เช่นเดียวกัน
จากรักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา สู่ประโยค
‘ตีเพราะห่วงใย’
ในปัจจุบันแม้จะเป็นการแสดงความรักจริงๆแบบพ่อ-ลูก ครู-ศิษย์ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้ชัดนั่นก็คือระบบอำนาจและความชอบธรรมที่สังคมปิดหูปิดตามอบให้โดยไม่ฟังเสียงร้องไห้ของเด็กเลย จากผลการศึกษาหลายสำนักต่างออกมายืนยันนอนยันแล้วว่า
การลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง ไม่ได้นำมาซึ่งความรักและเหตุผล ซ้ำยังจะสร้างปมในใจที่ลึกยิ่งกว่ารอยไม้เรียว
การลงโทษที่เน้นน้ำหนักมือมากกว่าเหตุผลนั้นคงไม่ใช่เรื่องดีแน่
ในหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนอย่าง อังกฤษ อเมริกา แคนาดา สกอตแลนด์ ก็ได้ยกเลิกกฎระเบียบข้อนี้ไป แล้วประเทศไทยล่ะจะยังสร้างคน(หรือปม)ด้วยไม้พันสก๊อตเทปอยู่หรือเปล่า? ถ้าชื่นชอบบทความดีๆเปิดโลกแบบนี้ล่ะก็ติดตามต่อได้ที่
iNN Lifestyle
ตอบคำถาม
ตั้งคำถามใหม่
โพสต์โดย : Kingdom
เมื่อ 27 ส.ค. 2567 17:57:12 น. อ่าน 7 ตอบ 0
Member
Login
ลืมรหัสผ่าน
|
สมัครสมาชิกใหม่
ดูฟุตบอลออนไลน์